วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
คำสั่ง ให้นักเรียนทำข้อสอบโดยการแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อคิดพร้อมยกตัวอย่างประกอบในการแสดงความคิดเห็นให้เป็นเหตุเป็นผลของผู้เรียน อาจารย์จะอ่านข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เขียนในWeblog ให้ชวนอ่าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ข้อที่ 1 กรณีที่เกิดความวุ่ยวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร
ตอบ ดิฉันคิดว่าคนทุกคนย่อมมีข้อดีและข้อเสียกันทั้งนั้นก็เหมือนท่านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เราควรรู้ถึงข้อดีและข้อเสียของท่านว่าเป็นอย่างไร
ข้อดีของท่านนายกทักษิณ
1.ท่านเป็นนักบริหารที่ดี มีความฉลาด รอบคอบ
2.มีภาวะในการเป็นผู้นำสูง
3.สามารถทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น
4.มีโครงการสามสิบรักษาทุกโรค
5.มีโครงการต้านภัยยาเสพติด
6.เป็นกฎหมาย
7.เป็นคนที่รำรวย
ข้อเสียของท่านนายกทักษิณ
1.เอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่
2.หลบหนีคดี
3.ขาดคุณธรรมจริยธรรม
4.บ้าในชื่อเสียง
5.เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
6.ทำให้ประเทศเกิดความวุ่นวาย
ถ้าหากดิฉันเป็นครูจะสอนให้เด็กรู้จักการเป็นผู้นำที่ดี เป็นคนที่ไม่ทุจริต และสอนให้เด็กเป็นคนมีคุณธรรมจริยธรรม ไม่ใช่ว่าท่านจะมีข้อเสียอย่างเดียวแต่ท่านก็ยังมีข้อดีให้เราได้ปฏิบัติตาม
ข้อที่ 2 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นที่ครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง
ตอบ ดิฉันคิดว่าในการจัดการเรียนในชั้นเรียนที่ให้เกิดประสิทธิภาพนั้น ควรประกอบปัจจัยหลายอย่าง
คือ 1.บรรยากาศในชั้นเรียน เช่น ควรจะจัดที่นั่งให้เด็กได้มองหน้าทุกคนในห้องเพราะจะสะดวกในการจัดกิจกรรมและยังทำให้ครูดูแลนักเรียนได้ทั่วถึง
2.บรรยากาศระหว่างครูกับนักเรียน คีอ ครูจะต้องพูดจาไพเราะ ไม่พูดเสียงดัง ครูควรจะแต่งกายให้เรียยร้อย สุภาพ และครูจะต้องมีความเป็นกันเองกับนักเรียน
3.การเรียนการสอนในชั้นเรียนควรมีขั้นตอนในการสอน คือ ก่อนเข้าสู่บทเรียนควรที่จะเร้าความสนใจของนักเรียน และครูไม่ควรสอนทฤษฎีหรือเนื้อหาอย่างเดียว เพราะจะทำให้เบื่อที่จะเรียนในวิชานั้นๆ
ข้อที่ 3 ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้อย่างไร
ตอบ ในฐานะที่ดิฉันจะเป็นครูพันธุ์ใหม่ในอนาคต ดิฉันจะนำเทคโนโลยีที่ได้เรียนมาไปใช้ประโยชน์ เช่นการนำโปรแกรม GSP เพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน และจะนำWebblog ซึ่งเป็นนวัตกรรมตัวใหม่ที่นิยมมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนและยังเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงและข้าพเจ้าเชื่อว่า หากข้าพเจ้านำนวัตกรรมตัวนี้ไปใช้ในการเรียนการสอน ก็จะส่งผลให้นักเรียนเป็นเด็กที่ทันสมัยก้าวทันเทคโนโลยีและยังส่งผลให้นักเรียนเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆอย่างแน่นอน
ข้อที่ 4 การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร
ตอบการประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนมาก เพราะ การประกันคุณภาพจะเป็นตัวบ่งบอกถึงคุณภาพของสถานศึกษาว่ามีประสิทธิภาพมากหรือน้อย เพราะสถานศึกษาจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริหารการจัดการศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัดการศึกษาที่มีความด้อยคุณภาพ และเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพมากขึ้น และยังช่วยให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ และให้เกิดความมั่นใจว่าสถานการจัดการศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับผู้เรียนตามมาตราที่กำหนด แลควรเลือกสถานศึกษาที่มีคุณภาพ และมีความไว้วางใจให้กับลูกหลานได้เข้าไปศึกษาในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ และที่สำคัญครูจะต้องมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบสามารถตรวจสอบได้จากที่การยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน
ข้อที่ 5 ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ตอบ ข้อดีของอาจารย์
-เป็นคนที่ตรงต่อเวลา
-แต่งกายเรียบร้อย สุภาพ
-พูดจาไพเราะน่าฟัง
-สอนนักศึกษาให้รู้จักการแบ่งปันความรู้ให้กับเพื่อนๆ ไม่ขี้เหนียวความรู้
ข้อเสียของอาจารย์
-ในการทำงานส่งอาจารย์นักศึกษาไม่มีโน๊ตบุค
-ให้เวลาในการทำงานน้อยเกินไป
ข้อเสนอแนะ
อาจารย์ควรไปสอนในห้องคอมพิวเตอร์ เพราะเวลาเรียนจะได้ทั่วถึงกันทุกคน
ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพิธีกร นักแสดง จบการศึกษา ระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนดอนบอสโก อุดรธานี ระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย[1] และระดับอุดมศึกษา จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงจากการเป็นสมาชิกกลุ่มซูโม่ในรายการโทรทัศน์ "เพชฌฆาตความเครียด"
เริ่มงานพิธีกรครั้งแรกรายการ "เฉียบ" คู่กับ ดี๋ ดอกมะดัน[2]
และผลงานเป็นที่รู้จักครั้งแรกของคนดู คือ การเป็นพิธีกรรายการ เจาะใจ ทางช่อง 5 คู่กับ ดำรง พุฒตาล อย่างยาวนานถึง 17 ปี (เฉพาะส่วนของสัญญาคนเดียว) จนทั้งคู่กลายเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของรายการ
มีผลงานละครเรื่องแรกคือ ยุทธจักรนักคิด และผลงานละครเรื่องต่อๆ มา อาทิ คู่ชื่นชุลมุน , สนทนาประสาจน ,ลอดลายมังกร, ซอยปรารถนา 2500, ชายไม่จริง หญิงแท้, เทวดาตกสวรรค์ มีผลงานภาพยนตร์จนถึงปัจจุบันนี้ 2 เรื่อง คือ ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด (พ.ศ. 2536) และ ท้าฟ้าลิขิต (พ.ศ. 2540) อีกทั้งยังเคยเป็นผู้กำกับการแสดงละครเรื่อง เจ้าพ่อจำเป็น ของเอ็กแซ็กท์
ส่วนทางด้านผลงานมิวสิควีดีโอเพลง ก็มีเพลง อีกหน่อยเธอคงเข้าใจ ของ ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ , กลับไม่ได้ไปไม่ถึง ของ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ , อยากถามก็ตอบ ของ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์
ส่วนผลงานด้านพิธีกรที่นอกจากเจาะใจแล้ว มีรายการ ที่นี่หมอชิต, 07 โชว์ ,พลิกล็อกรีเทิร์น,ดับเบิลพลิกล็อก, เกมล่ามหาสมบัติ, เกมล่ามหาสนุก, เกมล่า 2000, สัญญามหาชน, ดิ ไอคอน, ตาสว่าง
อนึ่ง ชื่อเล่นจริง ๆ ของสัญญา คือ อู๋ เป็นภาษาจีนแต้จิ๋วแปลว่า มี แต่เมื่อเข้าเรียนแล้ว เพื่อน ๆ มักเรียกว่า ดู๋ เลยถูกเรียกเป็นชื่อเล่นจนปัจจุบันนี้
ปัจจุบัน เป็นผู้บริหาร บริษัท ดีทอล์ก จำกัด ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ใบงานที่ 12 เรื่อง การประเมินคุณภาพการศึกษา
ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาตอบ หมายถึง การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวมความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา มีความสำคัญ 3 ประการ คือ
1.ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
2.ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจ ะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
3.ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่องการประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการการศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัดการศึกษาที่ด้อยคุณภาพและสร้างสรรค์การศึกษาให้เป็นกลไกที่มีพลังในการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้นการประกันคุณภาพการศึกษาเกี่ยวข้องกับการดำเนินการที่สำคัญ 2 เรื่องดังนี้
1.การกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาซึ่งหลักปฏิบัติทั่วไปจะกำหนดโดยองค์คณะบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้มีประสบการณ์ ในระบบการศึกษาไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้กระทรวงการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นผู้กำหนดมาตรฐานการศึกษา (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 31) โดยมีสภาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมแห่งชาติ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นผู้พิจารณาเสนอตามลำดับสายงาน (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542: มาตรา 34)
2.กระบวนการตรวจสอบและประเมินการดำเนินการจัดการศึกษาว่าเป็นไปตามมาตรฐาน คุณภาพการศึกษามากน้อยเพียงไร พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 48) และให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก ของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก 5 ปี โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 49)กระบวนการประกันคุณภาพภายในระบบการประกันคุณภาพภายใน
หมายถึง ระบบการประเมินผล และการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 4)สถานศึกษาจะต้องพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงหลักการและกระบวนการดังต่อไปนี้
1.หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษามี 3 ประการ คือ(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2543 : 11)
1.1 จุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพภายใน คือ การที่สถานศึกษาร่วมกันพัฒนาปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ไม่ใช่การจับผิดหรือทำให้บุคลากรเสียหน้า โดยเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ การพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
1.2 การที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามข้อ 1.1 ต้องทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาไม่ใช่เป็นกระบวนการที่แยกส่วนมาจากการดำเนินงานตามปกติของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาจะต้องวางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการที่มีเป้าหมายชัดเจน ทำตามแผนตรวจสอบประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบที่มีความโปร่งใสและมีจิตสำนึกในการพัฒนาคุณภาพการทำงาน
1.3 การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู อาจารย์และบุคลากรอื่นๆ ในสถานศึกษาโดยในการดำเนินงานจะต้องให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้เรียน ชุมชน เขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย วางแผน ติดตามประเมินผลพัฒนาปรับปรุง ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันผลักดันให้สถานศึกษามีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ เป็นไปตามความต้องการของผู้ปกครอง สังคม และประเทศชาติ2.กระบวนการการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของการประกันคุณภาพ มี 3 ขั้นตอนคือ
2.1 การควบคุมคุณภาพ เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐาน
2.2 การตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบ และติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
2.3 การประเมินคุณภาพ เป็นการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดในระดับเขตพื้นที่การศึกษาฯ และระดับกระทรวง3. กระบวนการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของหลักการบริหารที่เป็นกระบวนการครบวงจร (PDCA) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ
3.1 การร่วมกันวางแผน (Planning)
3.2 การร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Doing)
3.3 การร่วมกันตรวจสอบ (Checking)
3.4 การร่วมกันปรับปรุง (Action)บทบาทหน้าที่ของครูในการประกันคุณภาพภายในควรเป็นดังนี้
1.มีการเตรียมความพร้อมของตนเอง โดยทำการศึกษาให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ วิธีการ ขั้นตอนในการประเมินผลภายใน รวมทั้งพยายามสร้างเจตคติที่ดีต่อการประเมินภายใน
2.ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาในการให้ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปที่คณะกรรมการประเมินผลภายในต้องการ
3.ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งของการประเมินผลภายใน เช่น เข้าร่วมพิจารณาจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานด้านการประเมินผลภายในสถานศึกษา ร่วมกันพิจารณาจัดสร้างเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลลักษณะต่างๆ ในกระบวนการประเมินผลภายใน ร่วมกันทำการสำรวจเก็บข้อมูลที่คณะกรรมการสำรวจ ร่วมกันทำการวิเคราะห์ข้อมูล (หากมีความรู้ด้านการวิเคราะห์) ร่วมกันสรุปผลการประเมิน เป็นต้น
4.ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา ในการร่วมกันกำหนดจุดประสงค์ กำหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้ในการประเมินด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษาเอง และร่วมกันกำหนดเกณฑ์การตัดสินมาตรฐานและตัวบ่งชี้ในด้านต่าง ๆ
5.ปฏิบัติหน้าที่หลักหรือหน้าที่ประจำที่รับผิดชอบอย่างมีระบบ ตามกระบวนการและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา เช่น ในหน้าที่การสอนต้องมีการพัฒนาหลักสูตรและแผนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ จัดเตรียมเนื้อหาสาระที่ถูกต้องเหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนการสอน จัดทำสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพตรงตามจุดประสงค์การเรียนการสอน จัดกิจกรรม วิธีการเรียนรู้ที่สร้างให้ผู้เรียนเกิดการค้นคว้าหาความรู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง เลือกวิธีการประเมินผลการเรียนหลากหลายและเหมาะสมรวบรวมผลสรุปผล ประเมินการเรียนการสอน พฤติกรรมของผู้เรียน นำผลการประเมินมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เป็นต้นการประเมินคุณภาพภายนอกความหมายของการประเมินคุณภาพภายนอกสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาการประเมินคุณภาพภายนอก คือ การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เพื่อมุ่งให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ผู้ประเมินภายนอกหรือคุณหมอโรงเรียนมีความเป็นอิสระ และเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับการประเมินคุณภาพภายนอกจะนำไปสู่การเข้าถึงคุณภาพการศึกษาด้วยความเป็นกลาง เพื่อสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างแท้จริงความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอกการประเมินคุณภาพภายนอก มีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน ดังต่อไปนี้
ประการที่ 1 เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานและพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
ประการที่ 2 เพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาว่าสถานศึกษาได้จัดการศึกษามุ่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
ประการที่ 3 สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจในการวางแผนและดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการและบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
ประการที่ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสำคัญในภาพรวมเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายทางการศึกษาและการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
ใบงานที่ 11สรุปสาระสำคัญเรื่อง การบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ใบงานที่ 10 สรุปสาระสำคัญเรื่อง การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ส่วนประกอบของแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
1. ปกระบุชื่อสถานศึกษา ชื่อแผน และช่วงเวลาที่ใช้แผน
2. คำนำ
3. สารบัญ
4. ภาพรวมของสถานศึกษา ประกอบด้วย
4.1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษาบรรยายสรุปสาระสำคัญสั้น ๆ เพื่อความ เข้าใจในบริบท กระบวนการจัดการศึกษาในชุมชน สาระข้อมูลอาจประกอบด้วย- ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา เช่น จำนวนบุคลา กร ทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวก อัตราส่วนของข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็น- ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน เช่น สถานภาพทางสังคม และเศรษฐกิจของชุมชนความร่วมมือของชุมชน เป็นต้น
4.2 การดำเนินของสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในช่วงที่ผ่านมา โดยกล่าวถึง ความสำเร็จที่โดดเด่นที่สถานศึกษาภาคภูมิใจ ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในสาขาวิชาหลักตามที่กำหนดใน หลักสูตร ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของประเทศ ของพื้นที่ และหน่วยงานอื่น เป็นต้น ซึ่งควร นำเสนอการดำเนินงานของสถานศึกษา ตามข้อเท็จจริงโดยจำแนกข้อมูลส่วนประกอบหลักของระบบการ จัดการศึกษา ได้แก่ หลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาวิชาชีพ การจัดองค์กร และสิ่งแวดล้อมของ สถานศึกษาและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน
4.3 สรุปสถานภาพปัจจุบันของสถานศึกษาและปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ชี้ให้เห็นสภาพ จุดเด่นของสถานศึกษา สภาพปัญหา อุปสรรค และจุดด้อยของสถานศึกษา ประเด็นสำคัญที่สถานศึกษากำหนด เพื่อการพัฒนาในระยะต่าง ๆ ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสถานศึกษาที่จะกำหนดรอบระยะเวลาได้ตามความ เหมาะสม และวิถีการปฏิบัติของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งอาจจัดทำเป็นแผน 1 ปี หรือ ระยะเวลายาวขึ้น เป็น 2-3 ปี ก็ได้
5. เจตนารมณ์ของสถานศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจปณิธานที่สถานศึกษา และชุมชนยึดมั่น และหล่อหลอมเป็นแนวปฏิบัติของสถานศึกษาในการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นสู่คุณภาพของผู้เรียน การ นำเสนอเจตนารมณ์ของสถานศึกษา ในแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาแต่ละแห่งอาจแตกต่างกัน บางแห่ง อาจมีทั้งวิสัยทัศน์และภารกิจ บางแห่งอาจละไว้ไม่เขียนข้อความวิสัยทัศน์ แต่เริ่มต้นด้วยความเชื่อ และ ตามด้วยภารกิจของสถานศึกษา เพื่อเป็นกฎเกณฑ์ร่วม
5.1 วิสัยทัศน์ เป็นเจตนารมณ์ หรือความตั้งใจที่กว้าง ครอบคลุมทุกเรื่องของสถานศึกษา และ เน้นการคิดไปข้างหน้าเป็นสำคัญ แสดงถึงความคาดหวังในอนาคต โดยมิได้ระบุวิธีดำเนินงานข้อความวิสัยทัศน์จะถ่ายทอดอุดมการณ์ หลักการ ความเชื่อ และอนาคตที่พึงประสงค์ของ สถานศึกษาและชุมชน ข้อความวิสัยทัศน์จะต้องมีความชัดเจน เป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา และความ ยาวประมาณ 3-5 ประโยค
5.2 ภารกิจ (หรือพันธกิจ) เป็นข้อความที่แสดงเจตนารมณ์ และวิธีการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุถึง วิสัยทัศน์ ซึ่งมีลักษณ์ค่อนข้างเป็นนามธรรม ข้อความ ภารกิจแสดงว่าสถานศึกษาปรารถนาที่จะสัมฤทธิผล อะไรในปัจจุบัน และยังนำไปสู่การวางแนวปฏิบัติด้านพฤติกรรมของบุคลากรด้วย
5.3 เป้าหมาย (หรือจุดมุ่งหมาย) เพื่อให้ภารกิจที่กำหนดมีความเป็นไปได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สถานศึกษาจะต้องกำหนดเป้าหมายที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของ สถานศึกษา เช่น ในด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้านหลักสูตร และการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ การจัดองค์กร การพัฒนาวิชาชีพ และการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของชุมชน เป็นต้น เป้าหมายที่กำหนดให้ ระดับนี้เป็นผลลัพธ์ปลายทางที่สถานศึกษาคาดหวังจะบรรลุผลภายในช่วงเวลาที่กำหนด ลักษณะการเขียน ยังเป็นผลลัพธ์ที่คาดหวังกว้าง ๆ
6. เป้าหมายการพัฒนา (หรือวัตถุประสงค์) และยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษา
6.1 เป้าหมายการพัฒนาเป็นผลลัพธ์ที่คาดหวังในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป้าหมายนี้ได้จาก ประเด็นสำคัญการพัฒนาอันมาจากการวิเคราะห์ความต้องการและความจำเป็น แล้วกำหนดระยะเวลาที่จะ พัฒนาว่าเป็น 1 ปี 2 ปี หรือ 3 ปี
6.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ระบุยุทธศาสตร์ที่สถานศึกษาใช้ อันเป็น ยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ มีงานวิจัยรองรับ สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาให้บรรลุผล ตามเป้าหมายได้โดยปกติแต่ละเป้าหมายการพัฒนาจะมีหลายยุทธศาสตร์รองรับเพื่อให้สามารถนำไปสู่การ ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. แผนปฏิบัติการประจำปี เป็นแผนที่กำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการในแต่ละปี เพื่อให้ บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ 6 ดังนั้นแผนปฏิบัติการประจำปี ประกอบด้วย สังเขปรายละเอียดของกิจกรรม หรือขั้นตอนการ ปฏิบัติเพื่อในบรรลุผลตามยุทธศาสตร์ และเป้าหมายการพัฒนาที่กำหนด ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม หรือ ขั้นตอนการปฏิบัติ กรอบเวลา งบประมาณ และแหล่งงบประมาณรูปแบบการเขียนนิยมใช้ตาราง ซึ่งจะช่วยให้เห็นความเชื่อมโยงตั้งแต่เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ มาตรฐานที่เป็นจุดเน้นของการพัฒนา วิธีการประเมินผล ตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จ ผู้รับผิดชอบ กรอบ เวลา งบประมาณสำหรับแต่ละกิจกรรม
8. การระดมทรัพยากร แหล่งสนับสนุนงบประมาณ และสรุปงบประมาณในแผนพัฒนา คุณภาพสถานศึกษา จะบอกจำนวนงบประมาณรวมที่จะต้องใช้ในแต่ละปี และแหล่งที่สถานศึกษาจะ สามารถระดมทรัพยากรและการสนับสนุนด้านงบประมาณได้ สำหรับแผนงบประมาณจะเป็นการ ดำเนินงานแยกจากแผนปฏิบัติการายปี
9. การประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน และแหล่งวิทยาการภายนอก เพื่อการสนับสนุน ทางวิชาการและอื่น ๆ เพื่อการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยระบุว่าจะขอความ ร่วมมือจากหน่วยงานใด ในเรื่องใด เป็นต้น
10. การแสดงภาระความรับผิดชอบการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เป็นการประเมิน คุณภาพผู้เรียน การประเมินความก้าวหน้าของสถานศึกษา การผดุงระบบคุณภาพของสถานศึกษา และการ รายงานผลการปฏิบัติของสถานศึกษาต่อผู้เรียน บิดา มารดา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
11. กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และการขอรับความเห็นชอบใน แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยกล่าวถึงกระบวนการจัดทำแผน การทบทวน ปรับปรุงแผนการสร้างการยอมรับ และประชาสัมพันธ์แผนและการขอรับความเห็นชอบในแผนพัฒนา คุณภาพสถานศึกษา จากคณะกรรมการสถานศึกษา
12. ข้อมูลอื่น ๆ เช่น-นิยามศัพท์ที่ใช้ในแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจตรงกัน-การเผยแพร่แผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา แจกจ่ายแผนให้กับหน่วยงานใด และ บุคคลใดบ้างเป็นต้น- คณะจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
ใบงานที่ 9 เรื่อง การเขียนโครงการและการบริหารจัดการในโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา
ลักษณะของโครงการที่ดีโครงการเป็นการจัดกิจกรรมที่เป็นระบบ เพื่อการปฏิบัติหน้าที่องค์การให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการที่ดีย่อมทำให้ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และผลตอบแทนที่องค์การหรือหน่วยงานจะได้รับอย่างคุ้มค่า อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาของหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งได้สรุปลักษณะที่ดีของโครงการดังต่อไปนี้
1.สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาขององค์การหรือหน่วยงานได้
2.มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถดำเนินงานและปฏิบัติได้
3.รายละเอียดของโครงการต้องสอดคล้องและสัมพันธ์กัน กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของโครงการต้องสอดคล้องกับหลักการและเหตุผล วิธีการดำเนินงานต้องสอดคล้องกับวัตถุป ระสงค์เป็นต้น
4.รายละเอียดของโครงการสามารถเข้าใจได้ง่าย สะดวกต่อการดำเนินงานตามโครงการ
5.เป็นโครงการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ สอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์การและสามารถติดตามประเมินผลได้
6.โครงการต้องกำหนดขึ้นจากข้อมูลที่มีความเป็นจริง และเป็นข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ
7.โครงการต้องได้รับการสนับสนุนในด้านทรัพยากร และการบริหารอย่างเหมาะสม
8. โครงการต้องมีระยะเวลาในการดำเนินงาน กล่าวคือต้องระบุถึงวันเวลาที่เริ่มต้น และสิ้นสุดโครงการข้อสังเกต โครงการที่กำหนดขึ้นแม้เป็นโครงการที่มีลักษณะดีเพียงใด แต่ตัวโครงการก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์การ หน่วยงาน หรือ สังคมของชนกลุ่มใหญ่ ตามที่ได้เขียนไว้ในโครงการได้ทั้งหมด เพราะการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในโครงการยังมีส่วนประกอบหรือปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่อาจทำให้การดำเนินงานของโครงการบรรลุถึงเป้าหมายอย่างด้อยประสิทธิภาพนอกจากนี้โครงการหนึ่งอาจเป็นโครงการที่ดีที่สุดในระยะหนึ่ง แต่อาจเป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยในอีกเวลาหนึ่งก็เป็นไปได้ผู้เขียนหรือกลุ่มผู้เขียนโครงการอาจจะเป็นคนละคนกับผู้ดำเนินงานตามโครงการหรืออาจจะเป็นคนๆ เดียวกันหรือกลุ่มๆเดียวกันก็ย่อมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดและชนิดขอโครงการลักษณะของโครงการและอื่นๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าโครงการจะมีขนาดเช่นใด ชนิดและประเภทใด ย่อมต้องมีรูปแบบ (Form) หรือโครงสร้าง (Structure) ในการเขียนที่เหมือนกันดังนี้
1. ชื่อโครงการ
2. หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
3. ผู้รับผิดชอบโครงการ
4. หลักการและเหตุผล
5. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
6. วิธีดำเนินการ
7. แผนปฏิบัติงาน
8. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
9. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้
10. การติดตามและประเมินผลโครงการสรุปแล้วการเขียนโครงการแบบประเพณีนิยมจะต้องมีเนื้อหาสาระที่ละเอียดชัดเจนเฉพาะเจาะจง
โดยรูปแบบของโครงการจะสามารถตอบคำถามดังต่อไปนี้ได้ คือ
1. โครงการอะไร หมายถึง ชื่อโครงการ
2. ทำไมต้องทำโครงการนั้น หมายถึง หลักการและเหตุผล
3. ทำเพื่ออะไร หมายถึง วัตถุประสงค์
4. ทำในปริมาณเท่าใด หมายถึง เป้าหมาย
5. ทำอย่างไร หมายถึง วิธีดำเนินการ
6. ทำเมื่อใดและนานแค่ไหน หมายถึง ระยะเวลาดำเนินการ
7. ใช้ทรัพยากรอะไร เท่าใด และได้จากไหน หมายถึง งบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ
8. ใครทำ หมายถึง ผู้รับผิดชอบโครงการ
9. ต้องทำกับใคร หมายถึง หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้การสนับสนุน
10. ทำได้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ หมายถึง การประเมินผล
11. เกิดอะไรขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงการ หมายถึง ผลที่คาดว่าจะได้รับ
12. มีปัญหาอุปสรรคหรือไม่ หมายถึง ข้อเสนอแนะโครงการทุกโครงการ หากผู้เขียนโครงการสามารถตอบคำถามทุกคำถามดังกล่าวได้ทั้งหมด อาจถือได้ว่าเป็นการเขียนโครงการที่มีความสมบูรณ์ในรูปแบบ และหากการตอบคำถามได้อย่างมีเหตุผลและมีหลักการ ย่อมถือได้ว่าโครงการที่เขียนขึ้นนั้นเป็นโครงการที่ดี นอกจากจะได้รับการพิจารณาอนุมัติโดยง่ายแล้ว ผลของการดำเนินงานมักจะมีประสิทธิภาพด้วยปัญหาในการเขียนโครงการในการเขียนโครงการนั้นเป็นการกำหนดกิจกรรมต่างๆ หรือกิจกรรมที่จะทำในอนาคตโดยอาศัยข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นตัวกำหนดกิจกรรมในโครงการ เมื่อเป็นเช่นนี้หากเป็นโครงการที่ดีย่อมนำมาซึ่งคุณภาพและประสิทธิภาพของหน่วยงาน โครงการบางโครงการเมื่อเขียนขึ้นมาแล้วไม่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ เนื่องจากปัญหาต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่แท้จริงในการเขียนโครงการ โครงการจำนวนไม่น้อยที่เขียนขึ้น โดยบุคคลที่ไม่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้น ขาดข้อมูลที่มีความเป็นจริง หรือขาดข้อมูลที่จะต้องใช้จริง ผู้เขียนโครงการเขียนโครงการโดยได้รับการมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาผลจากการเขียนโครงการในลักษณะนี้จะทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ปฏิบัติโครงการในการจะนำเอาโครงการไปปฏิบัติให้เกิดเป็นผลได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
2. ระยะเวลาที่ใช้ในการเขียนโครงการ หลายโครงการประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการในระยะอันสั้น ทำให้ไม่สามารถที่จะศึกษาข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างละเอียด ข้อมูลบางชนิดขาดการวิเคราะห์ที่ดีพอ เมื่อเขียนโครงการขึ้นมาแล้วจึงขาดความชัดเจนของข้อมูล จึงเป็นปัญหายุ่งยากในการนำเอาโครงการไปปฏิบัติ
3. ขาดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ในการเขียนโครงการบางโครงการขาดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการเขียนโครงการ เป็นผลให้เกิดความยุ่งยากต่อการตรวจสอบ ควบคุมและติดตามการดำเนินงาน และมีผลสืบเนื่องถึงการประเมินผลโครงการด้วย
4. การเขียนโครงการเป็นเรื่องของอนาคต ที่อาจมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากตัวแปรต่างๆ ที่ผู้เขียนโครงการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภัยธรรมชาติต่างๆ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อการดำเนินงานทั้งสิ้นและเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงเป็นปัญหาอย่างสำคัญของการเขียนโครงการ
5. ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารองค์การ ในบางครั้งการเขียนโครงการ แม้จะเขียนดีเพียงใด หากผู้บริหารไม่ให้ความสนใจขาดการสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ และทรัพยากรต่างๆที่จำเป็นต่อการทำโครงการอย่างเพียงพอ ย่อมจะสร้างปัญหาให้แก่การดำเนินโครงการได้เช่นเดียวกัน
6. ขาดการประสานงานและร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โครงการบางโครงการจำเป็นที่จะต้องมีการประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้โครงการที่ทำอยู่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โครงการที่จะสำเร็จได้จะต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรหรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามโครงการด้วย หากขาดการประสานงานและร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้วก็จะทำให้เกิดปัญหาในการทำโครงการ โครงการดังกล่าวก็บรรลุวัตถุประสงค์ได้ยากหรืออาจจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ก็ได้ใบงานครั้งที่ 6
ให้นักศึกษาศึกษาวัฒนธรรมองค์กรจากเอกสารและในInternet แล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังนี้
1.ความหมายวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร
ตอบ
2.ทำไมหากเราไปเป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เราควรจะศึกษาอะไรบ้างที่จะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ตอบ
3.รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ
4.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ
ใบงานครั้งที่ 5
ท่านจะนำประเด็นต่อไปนี้ไปใช้ในการเป็นครูที่ดีได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
1.การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษา
ตอบ
2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ตอบ
3.หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างไร
ตอบ
4.แนวคิดเชิงบวกเป็นอย่างไร
ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังนี้
ตอบ 1. มีอุดมการณ์ที่แน่นอน และสมาชิกทุกคนยอมรับ
2. ยึดมั่นในความถูกต้อง
3. ใช้หลักการประนีประนอม
4. ถือหลักการให้อภัยระหว่างกันเสมอ
5. มีสำนึกในเรื่องสัดส่วนการปฏิบัติงาน ไม่เอาเปรียบกัน
6. ถือว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน
7. เคารพในสิทธิและเสรีภาพส่วนตัวของเพื่อนสมาชิก
8. ถือหลักการไม่มุ่งเอาเด่นคนเดียว แต่ต้องดีร่วมกันทั้งทีม
9. รู้จักมองปัญหาให้เป็นเรื่องธรรมดา
10. เปิดใจกว้างระหว่างกัน
11. รู้จักแบ่งงาน และประสานงาน
12. มีความเป็นอิสระในการทำงานพอสมควร
13. ถือการปฏิบัตืตามกฎ ระเบียบ อย่างเคร่งครัดเสมอ
14. ยอมรับผิดเมื่อทำผิด
15. เมื่อมีความขัดแย้งต้องถือหลักการปรับมุมมองที่อาจแตกต่างกัน ให้มองในมุมมองเดียวกันได้
2.มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้การทำงานเป็นทีมประสบผลสำเร็จ
ตอบ 1. สมาชิกทุกคนต้องรู้และเข้าใจในวัตถุประสงค์ของงาน และมีความสำนึกผูกพันที่จะร่วมปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นั้นอย่างจริงจัง
2. สมาชิกของทีมรู้ถึงความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมของตนเองและของเพื่อนร่วมทีมของตนเป็นอย่างดี
3. สมาชิกในทีมรู้กระจ่างถึงบทบาทของตนในการทำงานร่วมทีมและแสดงบทบาทของตนได้เหมาะสม
4. มีกฎ ระเบียบ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน เพื่อควบคุมและคุ้มครองให้สมาชิกได้ปฏิบัติร่วมกันได้อย่างมีผลดี ปลอดภัย และราบรื่น
5. มีระบบการติดต่อสื่อสารที่ดีในระหว่างสมาชิก
6. มีมาตรการทีมีประสิทธิภาพเพื่อขจัดปัญหาขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น
7. มีวิธีการที่สมาชิกร่วมปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน
8. มีวิธีการที่ปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอในการสร้างความรู้สึกในระหว่างสมาชิกให้มีสำนึกในความเป็นกลุ่มหรือพวกเดียวกัน
9. มีวิธีการทำงานที่ดี
10. มีการสร้างบรรยากาศที่ดีในการร่วมทำงานอยู่เสมอ
3.ในฐานะที่ท่านเป็นครูท่านจะนำวิธีการทำงานเป็นทีมไปประยุกต์ใช้กับการสอนได้อย่างไร
ตอบ
ใบงานที่ 5 เรื่อง การติดต่อสื่อสารในองค์กร
ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังต่อไปนี้
1.ความหมายองค์กรและองค์การองค์กร(Organ) หมายถึงตอบ ส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กัน หรือขึ้นต่อกันและกัน องค์การ(Organization) หมายถึง การเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมที่ร่วมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย
2.องค์ประกอบของการสื่อสารองค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วยตอบ 1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender) 2. ข้อมูลข่าวสาร (Message) 3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media) 4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
3.การสื่อสารมีช่องสื่อสารอย่างไรบ้างตอบ ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Channel Communication) เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคมช่องทางการสื่อสาร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสื่อสารข้อมูลซึ่งหมายถึง สื่อกลางการส่งผ่านสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด โดยการสื่อสารข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารนี้ ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน 2 ประการ คือ ความกว้างของช่องสัญญาณและชนิดของข้อมูล นอกจากนี้แล้วชนิดของข้อมูลก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อปริมาณ และความรวดเร็วในการสื่อสารกล่าวคือชนิดข้อมูลที่เป็นข้อความจะมีขนาดเล็กทำให้การส่งผ่านข้อมูลไปมาทำได้สะดวกรวดเร็วแม้จะมีแบนด์วิดท์น้อยก็ตามแต่ในทางกลับกัน หากช่องทางการสื่อสารนั้นมีแบนด์วิดท์กว้าง แต่ชนิดข้อมูลกลับเป็นไฟล์วิดีโอซึ่งขนาดใหญ่มากก็จะทำให้ส่งผ่านข้อมูลได้ช้า ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด-ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย (Physical_Wire) เช่น สายทวิสเตดแพร์ (Twisted-pair Wire) สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) และเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable) เป็นต้น-ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) เช่น ไมโครเวฟ (Microwave) ดาวเทียม (Satellite) แสงอินฟราเรด (Infrared) คลื่นวิทยุ (Radio) และเซลลาร์ เป็นต้น
4.วัตถุประสงค์ของการสื่อสารมีอะไรบ้างตอบ วัตถุประสงค์ของการสื่อสารมนุษย์ทุกคนมีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น และเพื่อให้การอยู่ร่วมกันนั้นดำเนินไปอย่างสันติสุข การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยปกติมนุษย์จะใช้การสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1.เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูลเหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ 2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา เป็นการสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา จึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอน หรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ 3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร เช่น ทำให้เกิดความบันเทิง รื่นเริง สนุกสนาน เกิดความพอใจ เกิดความสุข ความสบายใจ เป็นต้น 4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ จะมุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตาม เช่น เปลี่ยนทัศนคติจากที่เคยไม่ชอบมาชอบได้ ฉะนั้น ผู้ส่งสารจึงต้องใช้วิธีการนำเสนอสารในรูปแบบของการแนะนำ ชี้แนะ หรือยั่วยุ และปลุกเร้าที่เหมาะสม
5.ในฐานะที่เป็นนักศึกษาครูจะนำวิธีการสื่อสารไปใช้ได้อย่างไรตอบ ในฐานะที่ดิฉันเป็นนักศึกษาครู ซึ่งการสื่อสารที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการประกอบอาชีพครู ดิฉันจะใช้การสื่อสารในหลายๆรูปแบบมาประยุกต์ใช้ร่วมกันเช่น การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน ที่ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
(1.)หลักการของการทำงานเป็นทีมควรเป็นอย่างไร
ตอบ หลักปฏิบัติในการทำงานเป็นทีม1. มีอุดมการณ์ที่แน่นอน และสมาชิกทุกคนยอมรับ2. ยึดมั่นในความถูกต้อง3. ใช้หลักการประนีประนอม4. ถือหลักการให้อภัยระหว่างกันเสมอ5. มีสำนึกในเรื่องสัดส่วนการปฏิบัติงาน ไม่เอาเปรียบกัน6. ถือว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน7. เคารพในสิทธิและเสรีภาพส่วนตัวของเพื่อนสมาชิก8. ถือหลักการไม่มุ่งเอาเด่นคนเดียว แต่ต้องดีร่วมกันทั้งทีม9. รู้จักมองปัญหาให้เป็นเรื่องธรรมดา10. เปิดใจกว้างระหว่างกัน11. รู้จักแบ่งงาน และประสานงาน12. มีความเป็นอิสระในการทำงานพอสมควร13. ถือการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ อย่างเคร่งครัดเสมอ14. ยอมรับผิดเมื่อทำผิด15. เมื่อมีความขัดแย้งต้องถือหลักการปรับมุมมองที่อาจแตกต่างกัน ให้มองในมุมมองเดียวกันได้
(2.)มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้การทำงานเป็นทีมประสบผลสำเร็จ
ตอบ ปัจจัยที่จะก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีม1. สมาชิกทุกคนต้องรู้และเข้าใจในวัตถุประสงค์ของงาน และมีความสำนึกผูกพันที่จะร่วมปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นั้นอย่างจริงจัง2. สมาชิกของทีมรู้ถึงความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมของตนเองและของเพื่อนร่วมทีมของตนเป็นอย่างดี3. สมาชิกในทีมรู้กระจ่างถึงบทบาทของตนในการทำงานร่วมทีมและแสดงบทบาทของตนได้อย่างเหมาะสม4. มีกฎ ระเบียบ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน เพื่อควบคุมและคุ้มครองให้สมาชิกได้ปฏิบัติร่วมกันได้อย่างมีผลดี ปลอดภัย และราบรื่น5. มีระบบการติดต่อสื่อสารที่ดีในระหว่างสมาชิก6. มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อขจัดปัญหาขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น7. มีวิธีการที่สมาชิกร่วมปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน8. มีวิธีการที่ปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอในการสร้างความรู้สึกในระหว่างสมาชิกให้มีสำนึกในความเป็นกลุ่มหรือพวกเดียวกัน9. มีวิธีการทำงานที่ดี10. มีการสร้างบรรยากาศที่ดีในการร่วมทำงานอยู่เสมอ
(3.)ในฐานะที่ท่านเป็นครูท่านจะนำวิธีการทำงานเป็นทีมไปประยุกต์ใช้กับการสอนได้อย่างไร ตอบ คือ 1. บรรยากาศของการทำงานมีความเป็นกันเอง อบอุ่น มีความกระตือรือร้น และสร้างสรรค์ทุกคนช่วยกันทำงานอย่างจริงจัง และจริงใจ ไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่าย
2. ความไว้วางใจกัน (Trust) เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม สมาชิกทุกคนในทีมควรไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ ซื่อสัตย์ต่อกัน สื่อสารกันอย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน
3. มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน สมาชิกทีมงานเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยอมรับภารกิจหลักของทีมงาน
4. บทบาท (Role) สมาชิกแต่ละคนเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทของตน และเรียนรู้เข้าใจในบทบาทของผู้อื่นในทีม ทุกบทบาทมีความสำคัญ รวมทั้งบทบาทในการช่วยรักษาความเป็นทีมงานให้มั่นคง เช่น การประนีประนอม การอำนวยความสะดวก การให้กำลังใจ เป็นต้น
5. วิธีการทำงาน (Work Procedure) สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา คือ
5.1 การสื่อความ (Communication) การทำงานเป็นทีมอาศัยบรรยากาศ การสื่อความที่ชัดเจนเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ทุกคนกล้าที่จะเปิดใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดความเข้าใจ และนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ
5.2 การตัดสินใจ (Decision Making) การทำงานเป็นทีมต้องใช้การตัดสินใจร่วมกัน เมื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมแสดงความคิดเห็น และร่วมตัดสินใจแล้ว สมาชิกย่อมเกิดความผูกพันที่จะทำในสิ่งที่ตนเองได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น
5.3 ภาวะผู้นำ (Leadership) คือ บุคคลที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น การทำงานเป็นทีมควรส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสแสดงความเป็นผู้นำ (ไม่ใช่ผลัดกันเป็นหัวหน้า) เพื่อให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ จะได้รู้สึกว่าการทำงานเป็นทีมนั้นมีความหมาย ปรารถนาที่จะทำอีก
5.4 การกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะเอื้อต่อการทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมาย ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วม ในการกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ร่วมกัน
6. การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของทีม ทีมงานควรมีการประเมินผลการทำงาน เป็นระยะ ในรูปแบบทั้งไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ โดยสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน ทำให้สมาชิกได้ทราบความก้าวหน้าของงาน ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมทั้งพัฒนากระบวนการทำงาน หรือการปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน ซึ่งในที่สุดสมาชิกจะได้ทราบว่าผลงานบรรลุเป้าหมาย และมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด
7. การพัฒนาทีมงานให้เข้มแข็ง
7.1 พัฒนาศักยภาพทีมงาน ด้วยการสร้างแรงจูงใจทางบวก สมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการจัดกิจกรรมสร้างพลังทีมงาน เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
7.2 การให้รางวัล ปัจจุบันการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานไม่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม ส่วนใหญ่จะพิจารณาผลการทำงานเป็นรายบุคคล ดังนั้นระบบรางวัลที่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม คือ การที่ทุกคนได้รางวัลอย่างยุติธรรมทุกคน คือ ควรสนับสนุนการให้รางวัลแก่การทำงานเป็นทีมในลักษณะที่ว่างอยู่บนพื้นฐานการให้รางวัลกับกลุ่ม (Group base reward system
ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังต่อไปนี้
1.ความหมายองค์และองค์การ
ตอบ องค์กร หมายถึง ส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกันและกัน
องค์การ หมายถึง การทำงานร่วมกันระหว่างคน 2 คนขึ้นไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันบางประการที่ได้มีการวางแผนการประสานงานไว้ล่วงหน้าแล้วการทำงานของกลุ่มคนดำเนินการไปอย่างสม่ำเสมอติดต่อกัน โดยหลักการอาศัยหลักการแบ่งแยกงานและหลักลำดับชั้นของอำนาจ
2.องค์ประกอบของการสื่อสาร
ตอบ องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
3.การสื่อสารมีช่องสื่อสารอย่างไรบ้าง
ตอบ การสื่อสาร (communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฎิกริยาตอบสนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
1 ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)2 ข้อมูลข่าวสาร(Messaqe)
3 สื่อในช่องทางการสื่อสาร(Media)
4 ผู้รับข่าวสาร(Receivers)
5 ความเข้าใจและการตอบสนอง
4.วัตถุประสงค์ของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ สนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ตอบ วัตถุประสงค์ของการสื่อสารได้จำแนกไว้ ดังนี้
1. เพื่อแจ้งให้ทราบหรือเพื่อทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา ฉะนั้นจึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอนหรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ
3.เพื่อสร้างความพอเข้าหรือความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารมีข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับสาร และมีกลวิธีในการนำเสนอเป็นที่พอใจ
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตาม
5.ในฐานะที่เป็นนักศึกษาครูจะนำวิธีการสื่อสารไปใช้ได้อย่างไร
ตอบ
วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553
1. นักศึกษาให้ความหมาย ผู้นำ ผู้บริหาร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ แตกต่างกัน เพราะผู้นำ คือ บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับการยินยอมจากสมาชิกในกลุ่มให้เป็นหัวหน้าหรือมีตำแหน่งและหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจในกลุ่มผู้นำหมายถึงผู้ที่สามารถชักจูงหรืกโน้มน้าวหรือใช้อิทธิพลให้ผู้อื่นหรือผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ
ผู้บริหารหมายถึง ผู้ที่สามารถจัดการกระบวนการของการทำงานและการใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. นักศึกษาสรุปบทบาทและภาระหน้าที่ของผู้นำ
ตอบ บทบาทของภาวะผู้นำ แบ่งออกเป็น 4 ประการ ได้แก่
1.การกำหนดแนวทางหลัก(Pathfinding) ผู้นำควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายและแนวความคิดที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้นำสร้างแผนงานแม่แบบ(blueprint of action) ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการก่อนจะลงมือปฏิบัติตามแผน
2.การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผล(Aligning) การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผล การทำให้องค์การดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน คือการลงมือสร้างแผนหลักที่กำหนดขึ้นในขั้นตอนที่หนึ่งทุกระดับชั้ขององค์การควรมีการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน
3.การมอบอำนาจ (Empowering) หากผู้นำมีการมอบอำนาจให้แก่พนักงานอย่างจริงจังจะทำให้บรรยากาศในการทำงานมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มเกิดประสิทธิผลเกิดผลลัพธ์ใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ซึ่งมาจากการที่สมาชิกของกลุ่มหรือพนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นและศักยภาพของตนได้อย่างอิสระ
4.การสร้างตัวแบบ(Modeling) หัวใจของการเป็นผู้นำ คือต้องสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะไม่เพียงแต่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างไรเท่านั้น แต่ผู้นำยังต้องมีคุณสมบัติของผู้นำที่ดีด้วย กล่าวคือ ต้องเข้าใจถึงความสำคัญของดุลยภาพระหว่างคุณลักษณะกับความรู้ความสามารถ
3. นักศึกษาจะมีวิธีการพัฒาภาวะผู้นำของนักศึกษาได้อย่างไร
ตอบ การพัฒนาภาวะผู้นำอาจทำได้ดังนี้
1. Learn on the job คือ เรียงจากงานที่ทำส่วนมากเวลาเราไปศึกษาดูงานจากสถานศึกษา มักจะดู Product (ผลงาน) มากกว่า เช่น เราไปดูโรงเรียนดีเด่น ผู้บริหารของโรงเรียน มักจะไม่ดูว่าเขาทำอย่างไร จึงได้รับความสำเร็จเป็นโรงเรียนดีเด่น คือเราไม่ดูกระบวนการ (Process) หรือวิธีการ อย่าลืมว่า งานยิ่งท้าทายมากเท่าไรคนยิ่งใช้ความพยายามมากขึ้น
2. Learn from people คือ เรียนจากผู้อื่น ผู้นำพร้อมที่จะเรียน พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงที่ดี ผู้ใดที่อยู่ในกลุ่มคนที่เรียนเก่งก็จะเก่งไปด้วย แต่ตรงข้ามถ้าอยู่ในกลุ่มของคนเรียนอ่อนก็พลอยเป็นคนเรียนอ่อนไปด้วย
3. Learn from bosses คือเรียนจากนายถ้าเราได้นายดีเราจะเรียนรู้อะไรมากมายจากนาย ตรงข้ามถ้านายเราไม่ดีเราพลอยแย่ไปด้วย ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นนายที่ดีของลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย
4.Training and workshop คือ ฝึกอบรมและปฏิบัติการเป็นสิ่งที่ผู้นำจะพัฒนาภาวะผู้นำของตัวเองได้ การฝึกอบรม
4.นักศึกษากล่าวถึงภาวะผู้นำสมัยใหม่จะต้องมีวิธีคิดอย่างไร
ตอบ ภาวะผู้นำสมัยใหม่จะต้องมีวิธีคิด
1.ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและแบบเปลี่ยนแปลง ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน คือ ผู้นำแบบเดิมที่ใช้การแลกเปลี่ยนโดยรางวัลต่างๆเป็นเครื่องมือในการชักจูงให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งต่างฝ่ายก็ได้รับผลประโยชน์ที่แลกเปลี่ยนกัน ส่วนผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงนั้น จะใช้ความสามารถเปลี่ยนความเชื่อทัศนคติของสมาชิกเพื่อให้สมาชิกทำงานได้บรรลุเหนือเป้าหมาย
2.ทฤษฎีความสามารถพิเศษของผู้นำ ควรมีลักษณะดังนี้ คือ เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถด้านทักษะ การสื่อสาร ความสามารถที่ทำให้ผู้อื่นไว้วางใจ ความสามารถทำให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเองมีความสามารถ มีพลังและมุ่งการปฏิบัติให้บรรลุผล
5. นักศึกษาคิดว่า ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำที่ดีควรทำอย่างไร
ตอบ ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำที่ดี
1. ผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม คือผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม เนื่องจากความสามารถในการนำหรือภายใต้การนำของผู้นำเช่นผลสำเร็จของการปฏิบัติงานของกลุ่มสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การอยู่รอด
ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา
1. นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา
ตอบ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบ
2. นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลป ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ศาสตร์ สามารถศึกษาได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน มีกฏเกณฑ์ หลักการ และทฤษฎีที่เชื่อถือได้ ศิลปะ การนำมาใช้ ประยุกต์ใช้หรือการมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์
3. นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆพอสังเขป
ตอบ วิวัฒนาการบริหารการศึกษา
ระยะที่1 ระหว่าง ค.ศ.1887-1945 ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory)
กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทเลอร์ (Scientific Management) ของเฟรดเดอริก เทย์เลอร์(Frederik Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพิ่มเติมผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือ ประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด(Selection)
1.2 ฝึกอบรมคนงานให้ถูกวิธี(Training)
1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน(Motivation)
ระยะที่2 ระหว่าง ค.ศ. 1945-1958 ยุคทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์(Human Relation) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความบกพร่องของการบริหาร”
ระยะที่3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958-ปัจจุบัน ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory) หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach)
ยึดหลักระบบงาน+ความสัมพันธ์ของคน+พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังนี้
เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I. Barnard)เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การกับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
4. นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีX ทฤษฎีY
ตอบ ทฤษฎี x (The Traditional View of Direction and Control)ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมมติฐานดังนี้
1.คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
2.คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
3.คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
4.คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
5.คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุเป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการเป็นต้น
ทฤษฎีY(The integration of Individual and Organization Goal)ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมมติฐานดังนี้
1.คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
2.คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3.คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
4.คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ผู้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียจซึ่งกันและกัน
5. ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
ตอบ ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจมีอยู่มากมาย อาทิ
- ทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้นของอับราฮัม มาสโลว์ ได้แก่ ความต้องการด้านกายภาพ ความปลอดภัย ความต้องการด้านสังคม ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ และความต้องการสำเร็จสมหวังในชีวิต
- ทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้นของอีริค ฟรอมม์ มนุษย์มีความต้องการ 5 ประการ ได้แก่ มีสัมพันธภาพ สร้างสรรค์ มีสังกัด มีเอกลักษณ์แห่งตน และมีหลักยึดเหนี่ยว