วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่1

ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา
1. นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา
ตอบ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบ
2. นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลป ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ศาสตร์ สามารถศึกษาได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน มีกฏเกณฑ์ หลักการ และทฤษฎีที่เชื่อถือได้ ศิลปะ การนำมาใช้ ประยุกต์ใช้หรือการมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์

3. นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆพอสังเขป
ตอบ วิวัฒนาการบริหารการศึกษา
ระยะที่1 ระหว่าง ค.ศ.1887-1945 ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory)
กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทเลอร์ (Scientific Management) ของเฟรดเดอริก เทย์เลอร์(Frederik Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพิ่มเติมผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือ ประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด(Selection)
1.2 ฝึกอบรมคนงานให้ถูกวิธี(Training)
1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน(Motivation)
ระยะที่2 ระหว่าง ค.ศ. 1945-1958 ยุคทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์(Human Relation) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความบกพร่องของการบริหาร”
ระยะที่3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958-ปัจจุบัน ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory) หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach)
ยึดหลักระบบงาน+ความสัมพันธ์ของคน+พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังนี้
เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I. Barnard)เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การกับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน

4. นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีX ทฤษฎีY
ตอบ ทฤษฎี x (The Traditional View of Direction and Control)ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมมติฐานดังนี้
1.คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
2.คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
3.คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
4.คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
5.คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุเป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการเป็นต้น
ทฤษฎีY(The integration of Individual and Organization Goal)ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมมติฐานดังนี้
1.คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
2.คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3.คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
4.คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ผู้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียจซึ่งกันและกัน


5. ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
ตอบ ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจมีอยู่มากมาย อาทิ
- ทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้นของอับราฮัม มาสโลว์ ได้แก่ ความต้องการด้านกายภาพ ความปลอดภัย ความต้องการด้านสังคม ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ และความต้องการสำเร็จสมหวังในชีวิต
- ทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้นของอีริค ฟรอมม์ มนุษย์มีความต้องการ 5 ประการ ได้แก่ มีสัมพันธภาพ สร้างสรรค์ มีสังกัด มีเอกลักษณ์แห่งตน และมีหลักยึดเหนี่ยว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น