วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่2
เรื่อง ภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา

1. นักศึกษาให้ความหมาย ผู้นำ ผู้บริหาร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ แตกต่างกัน เพราะผู้นำ คือ บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับการยินยอมจากสมาชิกในกลุ่มให้เป็นหัวหน้าหรือมีตำแหน่งและหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจในกลุ่มผู้นำหมายถึงผู้ที่สามารถชักจูงหรืกโน้มน้าวหรือใช้อิทธิพลให้ผู้อื่นหรือผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ

ผู้บริหารหมายถึง ผู้ที่สามารถจัดการกระบวนการของการทำงานและการใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. นักศึกษาสรุปบทบาทและภาระหน้าที่ของผู้นำ
ตอบ บทบาทของภาวะผู้นำ แบ่งออกเป็น 4 ประการ ได้แก่
1.การกำหนดแนวทางหลัก(Pathfinding) ผู้นำควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายและแนวความคิดที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้นำสร้างแผนงานแม่แบบ(blueprint of action) ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการก่อนจะลงมือปฏิบัติตามแผน
2.การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผล(Aligning) การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผล การทำให้องค์การดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน คือการลงมือสร้างแผนหลักที่กำหนดขึ้นในขั้นตอนที่หนึ่งทุกระดับชั้ขององค์การควรมีการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน
3.การมอบอำนาจ (Empowering) หากผู้นำมีการมอบอำนาจให้แก่พนักงานอย่างจริงจังจะทำให้บรรยากาศในการทำงานมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มเกิดประสิทธิผลเกิดผลลัพธ์ใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ซึ่งมาจากการที่สมาชิกของกลุ่มหรือพนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นและศักยภาพของตนได้อย่างอิสระ
4.การสร้างตัวแบบ(Modeling) หัวใจของการเป็นผู้นำ คือต้องสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะไม่เพียงแต่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างไรเท่านั้น แต่ผู้นำยังต้องมีคุณสมบัติของผู้นำที่ดีด้วย กล่าวคือ ต้องเข้าใจถึงความสำคัญของดุลยภาพระหว่างคุณลักษณะกับความรู้ความสามารถ

3. นักศึกษาจะมีวิธีการพัฒาภาวะผู้นำของนักศึกษาได้อย่างไร
ตอบ การพัฒนาภาวะผู้นำอาจทำได้ดังนี้
1. Learn on the job คือ เรียงจากงานที่ทำส่วนมากเวลาเราไปศึกษาดูงานจากสถานศึกษา มักจะดู Product (ผลงาน) มากกว่า เช่น เราไปดูโรงเรียนดีเด่น ผู้บริหารของโรงเรียน มักจะไม่ดูว่าเขาทำอย่างไร จึงได้รับความสำเร็จเป็นโรงเรียนดีเด่น คือเราไม่ดูกระบวนการ (Process) หรือวิธีการ อย่าลืมว่า งานยิ่งท้าทายมากเท่าไรคนยิ่งใช้ความพยายามมากขึ้น
2. Learn from people คือ เรียนจากผู้อื่น ผู้นำพร้อมที่จะเรียน พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงที่ดี ผู้ใดที่อยู่ในกลุ่มคนที่เรียนเก่งก็จะเก่งไปด้วย แต่ตรงข้ามถ้าอยู่ในกลุ่มของคนเรียนอ่อนก็พลอยเป็นคนเรียนอ่อนไปด้วย
3. Learn from bosses คือเรียนจากนายถ้าเราได้นายดีเราจะเรียนรู้อะไรมากมายจากนาย ตรงข้ามถ้านายเราไม่ดีเราพลอยแย่ไปด้วย ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นนายที่ดีของลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย
4.Training and workshop คือ ฝึกอบรมและปฏิบัติการเป็นสิ่งที่ผู้นำจะพัฒนาภาวะผู้นำของตัวเองได้ การฝึกอบรม

4.นักศึกษากล่าวถึงภาวะผู้นำสมัยใหม่จะต้องมีวิธีคิดอย่างไร
ตอบ ภาวะผู้นำสมัยใหม่จะต้องมีวิธีคิด
1.ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและแบบเปลี่ยนแปลง ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน คือ ผู้นำแบบเดิมที่ใช้การแลกเปลี่ยนโดยรางวัลต่างๆเป็นเครื่องมือในการชักจูงให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งต่างฝ่ายก็ได้รับผลประโยชน์ที่แลกเปลี่ยนกัน ส่วนผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงนั้น จะใช้ความสามารถเปลี่ยนความเชื่อทัศนคติของสมาชิกเพื่อให้สมาชิกทำงานได้บรรลุเหนือเป้าหมาย
2.ทฤษฎีความสามารถพิเศษของผู้นำ ควรมีลักษณะดังนี้ คือ เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถด้านทักษะ การสื่อสาร ความสามารถที่ทำให้ผู้อื่นไว้วางใจ ความสามารถทำให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเองมีความสามารถ มีพลังและมุ่งการปฏิบัติให้บรรลุผล

5. นักศึกษาคิดว่า ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำที่ดีควรทำอย่างไร
ตอบ ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำที่ดี
1. ผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม คือผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม เนื่องจากความสามารถในการนำหรือภายใต้การนำของผู้นำเช่นผลสำเร็จของการปฏิบัติงานของกลุ่มสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การอยู่รอด

ใบงานที่1

ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา
1. นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา
ตอบ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบ
2. นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลป ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ศาสตร์ สามารถศึกษาได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน มีกฏเกณฑ์ หลักการ และทฤษฎีที่เชื่อถือได้ ศิลปะ การนำมาใช้ ประยุกต์ใช้หรือการมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์

3. นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆพอสังเขป
ตอบ วิวัฒนาการบริหารการศึกษา
ระยะที่1 ระหว่าง ค.ศ.1887-1945 ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory)
กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทเลอร์ (Scientific Management) ของเฟรดเดอริก เทย์เลอร์(Frederik Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพิ่มเติมผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือ ประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด(Selection)
1.2 ฝึกอบรมคนงานให้ถูกวิธี(Training)
1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน(Motivation)
ระยะที่2 ระหว่าง ค.ศ. 1945-1958 ยุคทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์(Human Relation) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความบกพร่องของการบริหาร”
ระยะที่3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958-ปัจจุบัน ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory) หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach)
ยึดหลักระบบงาน+ความสัมพันธ์ของคน+พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังนี้
เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I. Barnard)เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การกับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน

4. นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีX ทฤษฎีY
ตอบ ทฤษฎี x (The Traditional View of Direction and Control)ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมมติฐานดังนี้
1.คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
2.คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
3.คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
4.คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
5.คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุเป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการเป็นต้น
ทฤษฎีY(The integration of Individual and Organization Goal)ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมมติฐานดังนี้
1.คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
2.คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3.คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
4.คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ผู้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียจซึ่งกันและกัน


5. ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
ตอบ ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจมีอยู่มากมาย อาทิ
- ทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้นของอับราฮัม มาสโลว์ ได้แก่ ความต้องการด้านกายภาพ ความปลอดภัย ความต้องการด้านสังคม ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ และความต้องการสำเร็จสมหวังในชีวิต
- ทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้นของอีริค ฟรอมม์ มนุษย์มีความต้องการ 5 ประการ ได้แก่ มีสัมพันธภาพ สร้างสรรค์ มีสังกัด มีเอกลักษณ์แห่งตน และมีหลักยึดเหนี่ยว